วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558





บันทึกอนุทินครั้งที่  5

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

  อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น


วันพฤหัสบดีที่  12 กุมภาพันธ์  2558


กลุ่มเรียน 101   เวลา  08.30 - 12.20


สัตว์โลกน่ารัก

      ความรู้ที่ได้รับ    

          ก่อนที่จะเริ่มการเรียนการสอนในวันนี้ อาจารย์ได้แจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่นและถุงมือ

      คนละ 1 ข้าง โดยอาจารย์ได้บอกว่าให้นักศึกษาสวมถุงมือข้างที่เราไม่ถนัด และก็ให้วาดรูปมือ

      ข้างที่สวมถุงมือไว้ให้เหมือนจริงที่สุด โดยจะทดสอบความจำของเราว่าเราจำอะไรได้บ้าง

      เกี่ยวกับมือของเรา   

ภาพกิจกรรม
                                     


...มือของหนูค่ะ...




       ...สำหรับวันนี้ก็ได้เรียนเนื้อหาเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ  

      ทักษะของครูและทัศนคติ         
      
      การฝึกเพิ่มเติม

      - อบรมระยะสั้น  สัมมนา

      - สื่อต่างๆ

      การเข้าใจภาวะปกติ

      - ครูต้องเรียนรู้ มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ

      - รู้จักเด็กแต่ละคน

      - มองเด็กให้เป็น " เด็ก "

      การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า

      - การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็ก

      แต่ละคนได้ง่าย

      ความพร้อมของเด็ก

     - วุฒิภาวะ

     - แรงจูงใจ

     - โอกาส

     การสอนโดยบังเอิญ

     - ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม

     - เด็กเข้าหาครูมากเท่าไรยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น

     - ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก

     - ครูต้องมีความสนใจเด็ก

     - ครูต้องมีความรู้สึกดีต่อเด็ก

     - ครูต้องมีอุปกรณ์หรือกิจกรรมล่อใจเด็ก

     - ครูต้องใช้เวลาในการติดต่อไม่นาน

     อุปกรณ์

     - มีลักษณะง่ายๆ

     - ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง

     - เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ

     ตารางประจำวัน

     - เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่ประจำ

     - กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอน

     - เด็กจะรู้สึกและมั้นใจ

     - คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

     ทัศนคติของครู

     การยืดหยุ่น

     - การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์

     - ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

     - ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

     การใช้สหวิทยาการ

     - ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ

     - สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

     การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและการเรียนรู้

     เด็กทุกคนสอนได้

     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ

     - เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

     เทคนิคการใช้แรงเสริม

     - ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก

     - มีแนวโน้มที่จะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็กและมักเป็นผลในทันที

     - หากผู้ใหญ่ไม่สนใจพฤติกรรมที่ดีนั้นก็จะลดลงหายไป

     วิธีการแสดงออกถึงแรงจากผู้ใหญ่

     - ตอบสนองด้วยวาจา

     - การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก

     -  สัมผัสทางกาย

     หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย

     - ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์

     - ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์

     การแนะนำหรือบอกบท

     - ย่อยงาน

     - ลำดับความยากง่ายของงาน

     - การบอกบทจะค่อยๆ น้อยลงตามลำดับ

     ขั้นตอนการให้แรงเสริม

     - สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย

     - วิเคราะห์งานกำหนดจุดประสงค์ย่อยๆ ในงานแต่ละชิ้น

     - สอนจากง่ายไปยาก

     - ให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่ใกล้เคี่ยงกับเป้าหมายที่สุด

     การกำหนดเวลา

     - จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องการ

     มีความเหมาะสม 

     การลดหรือหยุดแรงเสริม

     - ครูจะงดแรงเสริมเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม

     - ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก

     - เอาอุปกรณ์หรือของเล่นออกไปจากเด็ก


ภาพบรรยากาศการเรียนในห้อง 





       การประเมิน

       ประเมินตนเอง...เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน มีคุยบ้างบาง

        เวลาค่ะ  

        ประเมินเพื่อน...เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนดีมีคุยกันบ้างบางเวลา และวันนี้เพื่อนๆก็มี

        ความตั้งใจเรียนมาก
  
        ประเมินอาจารย์...วันนี้อาจารย์สอนได้เข้าใจและตรงตามเนื้อหามากเลยค่ะ

        เพราะอาจารย์มีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ เรียนกับอาจารย์แล้วสนุก 


          


วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




บันทึกอนุทินครั้งที่  4

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

  อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น


วันพฤหัสบดีที่  5  กุมภาพันธ์  2558


กลุ่มเรียน 101   เวลา  08.30 - 12.20


     ความรู้ที่ได้รับ     


        ...สำหรับวันนี้เริ่มเรียนด้วยอาจารย์ได้ให้วาดภาพดอกไม้ โดยอาจารย์จะมีแบบ

       มาให้ดูเพื่อเป็นตัวอย่างในการวาด จากนั้นอาจารย์ก็ได้บอกว่าวาดภาพนี้ให้เหมือน

       จริงที่สุดนะ และเก็บรายละเอียดของภาพให้ได้มากที่สุดแล้ววาดรูปเสร็จก็ระบายสี

       ให้สวยงามเหมือนในภาพ


 


*  จากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้เขียนสิ่งที่นักศึกษาเห็นในภาพ  *




ผลงานของหนูค่ะ 

( ตั้งใจวาดมากๆ เลย )

 


      *  สำหรับเนื้อหาวันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ *

       บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียน

       ครูไม่ควรวินิจฉัย

       - การวินิจฉัย  หมายถึง  การตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง

       จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้

       ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก

       - เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

       - ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป

       - เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริง

       ครูไม่ควรบอกพ่อ แม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

       - พ่อ แม่ของเด็กพิเศษมักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา

       - พ่อ แม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว

       - ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความหวังดีในด้านบวก แต่ต้องไม่ให้เกิดความผิดหวัง

       - ครูควรรายงานผู้ปกครอง ว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง เท่ากับเป็นการบอกว่า

       เด็กทำอะไรไม่ได้

       - ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วบให้เด็กพัฒนา

       ครูทำอะไรบ้าง
      
       - ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ 

       - ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมิณผลหรือวินิจฉัย

       - สังเกตเด็กอย่างเป็นระบบ

       - จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ

       สังเกตอย่างมีระบบ

       - ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู

       - ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลายาวนานกว่า

       - ต่างจากแพทย์ นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา

       การตรวจสอบ

       - จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร

       - เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อ แม่เข้าใจเด็กดีขึ้น

       - บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

       ข้อควรระวังในการปฎิบัติ

       - ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้

       - ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆ ได้

       - พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอไป

       การบันทึกการสังเกต

       - การนับอย่างง่ายๆ

       - การบันทึกต่อเนื่อง

       - การบันทึกไม่ต่อเนื่อง

       การนับอย่างง่ายๆ

       - นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม

       - กี่ครั้ง ในแต่ละวัน กี่ครั้ง ในแต่ละชั่วโมง

       - ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม

               คำถามท้ายบท     

       1. ให้นักเรียนบอกบทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยถึงสิ่งที่ควรปฎิบัติและไม่ควรปฎิบัติ

       ต่อเด็กในห้องเรียนรวม

       ตอบ  สิ่งที่ควรปฎิบัติ คือ การจดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ 

      สิ่งที่ไม่ควรปฎิบัติ คือ ครูไม่ควรบอกพ่อ แม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ

       2. บอกลักษณะการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบว่ามีรูปแบบใดบ้างและแต่ละรูปแบบ

       มีวิธีสังเกตเด็กอย่างไร

       ตอบ  การตรวจสอบเด็ก คือเราจะทราบว่าเด็กคนนี้มีพฤติกรรมอย่างไรและเรา

      ยังสามารถบอกได้ว่าสิ่งใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ

                        
 




      - กิจกรรมสุดท้ายอาจารย์มีเพลงใหม่มาให้แล้วให้ทุกคนฝึกร้องโดยอาจารย์จะร้อง

        ให้ฟังก่อน จากนั้นก็ให้ร้องพร้อมกันค่ะ
ร้องเพลง ฝึกกายบริหาร    




      การประเมิน   


        ประเมินตนเอง...ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

        และตั้งใจวาดภาพมากเลยค่ะ และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ

        ประเมินเพื่อน...เพื่อนๆ ตั้งใจเรียนดีมีคุยกันบ้างบางเวลา และเพื่อนๆ ก็ตั้งใจ

        วาดภาพดอกไม้กันมากและวาดออกมาสวยทุกคนเลย และเพื่อนๆ ก็ยังให้

        ความร่วมมือในการร้องเพลงด้วยค่ะ
  
        ประเมินอาจารย์...วันนี้อาจารย์สอนได้เข้าใจมากค่ะ เพราะอาจารย์มีเทคนิค

        การสอนที่น่าสนใจ เรียนกับอาจารย์แล้วสนุก และการสอนของอาจารย์ก็มีสื่อ

        มาประกอบการสอน

          


วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558



 บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

  อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิ่น


วันพฤหัสบดีที่  29 มกราคม  2558


กลุ่มเรียน 101   เวลา  08.30 - 12.20




เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดธุระต้องไปสัมมนาวิชาการบริหารสถานศึกษา

และบุคลากรทางการศึกษา (อาจารย์จึงได้ให้ไปศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองค่ะ)